กันบ้านร้อนด้วยฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อน...

หน้า ร้อนแบบนี้ค่าไฟที่บ้านของใครหลายคนคงพุ่งขึ้นมากอยู่เหมือนกัน ก็เมื่ออากาศร้อน บ้านร้อน คนในบ้านก็ร้อนไปด้วย และอุปกรณ์ที่จะช่วยบรรเทาความร้อนแบบทันใจที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเครื่องปรับ อากาศ แต่ able มีอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จะช่วยลดดีกรีความร้อนภายในบ้านให้เย็นลงได้

ฉนวนโพลีเอทธีลีน (Polyethylene) ชนิด M-PE

เป็นผลิตภัณฑ์จากพลาสติกสังเคราะห์โพลีเอทธี ลีน ที่มีโครงสร้างเป็นเซลล์ปิด (Close Cell) ภายในมีฟองอากาศขนาดเล็กจำนวนมากอัดแน่นกันอยู่ ทำหน้าที่ช่วนลดการว่งผ่านความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน M-PE เป็นฉนวนมีค่าการนำความร้อนต่ำ แต่มีการต้านทานความร้อนสูง สามารถสะท้อนความร้อนได้ 95% เป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยุบหรือหดตัวง่าย การต้านทานไอน้ำอยู่ในเกณฑ์สูง ไม่มีสารพิษ ไม่ลามไฟ ทนต่อสารเคมีที่เป็นกรด ด่าง อายุการใช้งานยาวนานกว่า 10 ปี ข้อเสีย คือ เป็นวัสดุที่หนูชอบกัด แต่ไม่เป็นที่อยู่อาศัยของมัน และเสื่อมสภาพได้จากรังสียูวี จึงควรมีวัสดุปิดผิวขณะใช้งานหรือไม่สัมผัสกับยูวีโดยตรง


ฉนวนโพลีเอทธีลีน บับเบิลฟอยล์ (Polyethylene Bubbles)

ป็นฉนวนกันความร้อนที่มีโครงสร้าง หลักที่ประกอบด้วย อลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ 2 ด้าน คือ ด้านบนคอยทำหน้าที่สะท้อนความร้อน โดยสามารถสะท้อนได้สูงถึง 97% และด้านล่่างทำหน้าที่คายความร้อนต่ำ ส่วนชั้นกลางคือชั้นของโพลีเอทธีลีน แอร์บับเบิ้ล ชนิดเซลล์ปิด ทำหน้าที่กักเก็บความร้อนเอาไว้ แอร์ บับเบิ้ล ไม่มีผลต่อความชื้น ไม่มีสารพิษ ไม่ลามไฟ ไม่ก่อให้เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี ข้อเสียของบับเบิ้ลฟอยล์อยู่ที่หากฟองอากาศภายในแตกจนหมดแล้ว ก็จะทำหน้าที่เป็นเพียงแค่แผ่นสะท้อนความร้อนทั่วไป


ฉนวนใยแก้ว

ใยแก้วเป็นฉนวนที่ผลิตจากการหลอมแก้วแล้วปั่นจนเป็นเส้นใยละเอียด จัดเป็นฉนวนเส้นใยแบบเซลล์เปิด (Open Cell) ที่มีโครงสร้างภายในเป็นเส้นใยและช่องว่างอากาศ ซึ่งช่องว่างนี้เองที่ช่วยกักเก็บและชะลอความร้อนที่จะแผ่ลสู่ตัวบ้าน โดยมีค่าการนำความร้อนต่ำ แต่ค่าการต้านทานความร้อนสูง สะท้อนความร้อนได้ 95% และไม่มีสารพิษ ข้อเสีย คือ เป็ฯฉนวนที่ไม่ติดไฟแต่ตัวประสานเส้นใยติดไฟได้ จึงควรคำนึงถึงอุณหภูมิเวลาใช้งาน และ มักจะสูญเสียประสิทธิภาพในการกันความร้อนเมื่อได้รับความชื้น จึงจำเป็นต้องมีแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ห่อหุ้มเพื่อป้องกันความชื้น อีกทั้งอายุการใช้งานก็สั้นกว่าฉนวนชนิด M-PE และบับเบิ้ล ฟอยล์

การเลือกซื้อฉนวนกันความร้อน
1. ความปลอดภัย
ตัว ฉนวนเป็นวัสดุที่มีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยหรือไม่ เป็นวัสดุที่ลามและติดไฟหรือไม่ รวมถึงน้ำหนักของตัวฉนวนที่มากเกินไปก็อาจมีผลทำให้ฝ้าตกท้องช้างได้
2. การติดตั้ง ก
ารติด ตั้งฉนวนกันความร้อนในจุดที่เหมาะสมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะรูปแบบของอาคารในแต่ละหลังรวมไปถึงสภาพแวดล้อมรอบๆ บริเวณนั้่นด้วย และไม่ลืมว่าต้องติดตั้งให้มีช่องว่างระหว่างฉนวนกับหลังคาพอสมควร เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการสะท้อนความร้อนออกไป
3. ประสิทธิภาพการต้านทานความร้อน
ฉนวน กันความร้อนที่ดีควรมีค่าการต้านทานความร้อน (ค่า R) ที่สูง และค่าการนำความร้อน (ค่า K ) ที่ต่ำ ซึ่งผู้ซื้อสามารถสอบถามได้จากพนักงานขายและอ่านได้จากฉลากสินค้า